เมืองสร้างสรรค์อื่น เป็นแบบไหน
เมืองอิชอน ประเทศเกาหลีใต้ เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
สมาชิกปี พ.ศ. : 2553 https://en.unesco.org/creative-cities/icheon
เกี่ยวกับเมืองสร้างสรรค์ :
อิชอน กำหนดตนเองเป็นศูนย์อุตสาหกรรมงานฝีมือที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลี ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนางานเซรามิกยุคใหม่และถ่ายทอดศิลปะเซรามิกเกาหลีโบราณกว่า 1,000 ปี จากรุ่นสู่รุ่น
มีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อกระบวนผลิตเซรามิก เช่น อุตสาหกรรมสถาบันการศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการผลิต โดยมี สายพานการผลิตเซรามิกคิดเป็นสัดส่วน 55% ของอุตสาหกรรมเซรามิกในประเทศ มีสตูดิโอเซรามิก 320 แห่ง
มีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เทศกาลเซรามิก (Icheon Ceramic Festival) และการประชุมวิชาการประติมากรรมนานาชาติ (Icheon International Sculpture Symposium) แสดงสถานะของเมืองว่าเป็นสถานที่แลกเปลี่ยน ทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน และแหล่งกิจกรรมสร้างสรรค์
คุณค่าที่เกิดขึ้น :
- การฟื้นฟูอุตสาหกรรมเซรามิกและเสริมสร้างภาพลักษณ์ระดับนานาชาติของเซรามิกผ่านการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือทั่วโลก
- การพัฒนาโครงการความร่วมมือกับสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
สมาชิกปี พ.ศ. : 2560 https://en.unesco.org/creative-cities/cairo
เกี่ยวกับเมืองสร้างสรรค์ :
เป็นเวลาหลายศตวรรษมาแล้วที่กรุงไคโรเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญของอิยิปต์มาจนถึงทุกวันนี้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ โดยเฉพาะปิรามิด และมีชื่อเสียงในฐานะศูนย์กลางของงานฝีมือนับแต่สมัยโบราณ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในท้องถิ่นส่วนใหญ่คืองานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ซึ่งคิดเป็น 80% ของกิจกรรมทางวัฒนธรรมของเมือง
ชุมชนที่อาศัยอยู่ในศูนย์กลางประวัติศาสตร์เป็นกุญแจสำคัญในการสนับสนุนงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในเมืองอย่างต่อเนื่อง มีเครื่องปั้นดินเผา เป่าแก้ว ทองแดง เซรามิก และอัญมณี มีการจัดงานแสดงที่หลากหลาย เช่น งาน Diarna Fair หรือ Youm Misr เพื่อส่งเสริมมรดกของงานหัตถกรรมของกรุงไคโร เป็นเจ้าภาพจัดงาน Heritage Forum เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้งานสร้างสรรค์ให้รอบด้าน มีงานเทศกาลกลองและศิลปะดั้งเดิมนานาชาติ ซึ่งได้เชื่อมโยงศิลปะพื้นบ้านดั้งเดิมเข้ากับการแสดงดนตรี
คุณค่าที่เกิดขึ้น :
- จัดอบรมเสริมศักยภาพให้กับช่างฝีมือและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
- พัฒนาจัตุรัสกลางเมืองให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ เป็นตลาดชั่วคราวเพื่อแสดงนิทรรศการและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม
- ปรับปรุงอาคารสาธารณะให้เป็นศูนย์หัตถกรรมของชุมชน (Community Craft Centres)
- สนับสนุนและส่งเสริมความสำคัญและคุณค่าของศูนย์วัฒนธรรมที่ริเริ่มโดยประชาชนและศิลปิน เป็นพื้นที่เปิดโล่งสำหรับการสร้างสรรค์ต่าง ๆ
เชียงใหม่ เมืองแห่งหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน
สมาชิกปี พ.ศ. : 2560 https://en.unesco.org/creative-cities/chiang-mai
เกี่ยวกับเมืองสร้างสรรค์ :
เชียงใหม่ เมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา เมื่อพ.ศ. 1839 ช่างฝีมือมีบทบาทสำคัญในการสร้างชื่อเสียงให้กับราชอาณาจักรในฐานะศูนย์กลางการค้าที่ร่ำรวยเพราะมีแม่น้ำปิงและเส้นทางการค้าที่สำคัญ ปัจจุบันเป็นแหล่งอุตสาหกรรมงานฝีมือที่มีการจ้างงานมากถึง 159 บริษัท
มีการส่งต่องานหัตถกรรม ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเงิน การแกะสลักไม้ การเย็บปักถักร้อย ผ้าไหม และเครื่องเขิน ให้กับเยาวชนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้กับเด็ก ๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเชียงใหม่ และมีการจัดงาน Lanna Expo โดยผสมผสานงานหัตถกรรม การทำอาหาร และการออกแบบเข้าไว้ด้วยกัน
คุณค่าที่เกิดขึ้น :
- สนับสนุนให้เยาวชนพัฒนาทักษะด้านงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์
- สนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมในตลาดต่างประเทศ เพื่อยกระดับการทำงานและคุณภาพชีวิตของผู้ผลิตรายย่อยในท้องถิ่น
- จัดการประชุมเชิงวิชาการเกี่ยวกับงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านสำหรับผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นและต่างประเทศ นักวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาและสนับสนุนทักษะดั้งเดิม
- สร้างโอกาสให้กับศิลปินและผู้ประกอบการรุ่นใหม่แลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่
- เสริมสร้างการยอมรับในระดับสากลของผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรมเชียงใหม่ในตลาดใหม่
เมืองภูเก็ต เมืองแห่งวิทยาการอาหาร
สมาชิกปี พ.ศ. : 2558 https://en.unesco.org/creative-cities/phuket
เกี่ยวกับเมืองสร้างสรรค์ :
ที่นี่ วัฒนธรรมการทำอาหารแบบดั้งเดิม เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเจรจาระหว่างวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ซึ่งได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและความรู้ที่หลากหลาย ภาคส่วนของศาสตร์การทำอาหารมีคุณูปการมากถึง 3.6 พันล้านดอลล่าร์ต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นในแต่ละปี
การจัดงานเทศกาลเมืองเก่าประจำปี เป็นการอนุรักษ์ สืบทอด และส่งเสริมความรู้โบราณในการทำอาหาร งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และทัศนศิลป์ การจัดงานมีระยเวลา 3 วัน สามารถดึงดูดผู้ชมในและต่างประเทศมากกว่า 400,000 คน นอกจากนี้ ภาคธุรกิจโรงแรมมีการฝึกอบรมอาชีพให้คนรุ่นใหม่เพื่อประกอบอาชีพด้านการทำอาหารด้วย
เทศบาลนครภูเก็ตได้ลงทุนอย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักต่อความปลอดภัยของห่วงโซ่อาหารผ่านโครงการความปลอดภัยด้านอาหารภูเก็ตและครัวอันดามัน และมีความพยายามในการดำเนินแผนการผลิตและการใช้ประโยชน์จากวัฒนธรรมอาหารให้สมดุลยิ่งขึ้น เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน
คุณค่าที่เกิดขึ้น :
- จัดตั้งสถาบันการทำอาหารภูเก็ตเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) ในด้านการทำอาหาร ซึ่งสร้างความร่วมมือในระดับท้องถิ่นและระหว่างประเทศ
- ส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้กับเมืองสร้างสรรค์อื่น ๆ ของศาสตร์การทำอาหารผ่านเวทีต่าง ๆ ระดับประเทศ
- แก้ปัญหาการกีดกันอาหารของกลุ่มคนและบุคคลที่มีช่องโหว่โดยเฉพาะผู้ประสบภัยธรรมชาติ
- เพิ่มโอกาสให้คนรุ่นใหม่ในอาชีพด้านการทำอาหาร ด้านวัฒนธรรม และด้านความคิดสร้างสรรค์