องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)

Street Art ริมยม

1660719180
ขนาดตัวอักษร

แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน

ศิลปะบนผนังกั้นริมแม่น้ำยมถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจากแนวความคิดของศิลปินท้องถิ่นที่ต้องการสื่อถึงอัตลักษณ์และความโดดเด่นในด้านต่างๆของจังหวัดสุโขทัย ทั้งงานประเพณี หัตถกรรม อาหาร ตลอดจนวิถีชีวิต ซึ่งทุกอย่างล้วนมีความสวยงาม มีอัตลักษณ์ ศิลปินได้รังสรรค์จิตรกรรมเหล่านี้ขึ้นมาโดยการระบายสีลงบนผนังเป็นสีอะคริลิกภายนอก ในรูปแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ประกอบกับสอดแทรกศิลปะสื่อผสม เช่น การปะติดวัสดุ ซึ่งเป็นวัสดุจากงานศิลปกรรมพื้นถิ่น

จิตรกรรมฝาผนังในรูปแบบงาน Street Art เป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาถ่ายภาพและเที่ยวชม ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนความเป็น “เมืองสร้างสรรค์” ของจังหวัดสุโขทัย โดยการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนักสร้างสรรค์งาน รวมถึงสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพลเมือง และผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านวัฒนธรรมผ่านการทำงานร่วมกัน การมีพื้นที่สาธารณะ จะนำไปสู่การพัฒนาเมืองที่จะสามารถตอบโจทย์ให้แก่คนในท้องถิ่น เมืองที่เป็นของทุกคน และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเมืองต่อไป

 

ความเป็นมาของชิ้นงาน (สอดคล้องกับแนวคิดในการออกแบบ)

ภาพที่ 1 สะพานดำ – เรือมอญ

แสดงถึงความเป็นมาของวิถีชีวิตคนสุโขทัยเมื่อครั้งอดีต

ภาพที่ 2 คำว่า SUKHOTHAI

SUKHOTHAI เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษเพื่อจะได้เป็นที่จดจำของนักท่องเที่ยว ลักษณะเป็นศิลาแลง ด้านหลังเป็นลายน้ำและปลา แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของจังหวัดสุโขทัย

 

 

ภาพที่ 3 หลักศิลาจารึกและลายสือไทย

อักษรไทย หรือภาษาเขียน ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นตัวเขียนที่พัฒนาสืบทอดมาจาก ลายสือไทย ที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1826 ในระยะเวลาดังกล่าว ชาติไทยได้สะสมความรู้ทั้งทางศิลปวัฒนธรรมและวิชาการต่างๆ ได้ถ่ายทอดความรู้เหล่านี้สืบต่อกันมา โดยอาศัยลายสือไทยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นส่วนใหญ่ จึงมีหลักศิลาจารึกและพงศาวดารเป็นหลักฐานยืนยันว่าชาติไทยเคยรุ่งเรืองมาอย่างไรบ้างในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี

 

 

 

 

ภาพที่ 4 การวาดจิตรกรรมไทยที่มีความอ่อนช้อย ของหนุ่มสาวเป็นแบบสุโขทัยโบราณโดยจะออกแบบท้องฟ้าให้เป็นสไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ในงานประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ

เป็นบรรยากาศประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟที่จะออกแบบท้องฟ้าให้เป็นสไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism) ซึ่งมุ่งเน้นถึงการวาดภาพที่จับซึ่งสายตาสัมผัสรับรู้ในช่วง ณ เวลานั้นและเป็นช่วงเวลาที่ฉับพลัน และจะมีการแยกแยะสีที่จะเข้ามาประกอบกันเข้าเป็นแสงที่ส่องต้องสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดพื้นผิวภาพที่เต็มไปด้วยสีสันที่แปรเปลี่ยนเป็นภาพที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งอิสระคล้ายผลงานของวินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh)  หนึ่งในศิลปินที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพล ในประวัติศาสตร์ศิลปะตะวันตกมากที่สุด

 

ภาพที่ 5 วัดศรีชุม (พระอจนะ) โดยจะออกแบบท้องฟ้าให้เป็นสไตล์อิมเพรสชั่นนิสม์ (Impressionism)

วัดศรีชุม มีมณฑปเป็นประธานของวัด ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ นามว่า "พระอจนะ" เหตุที่เชื่อกันว่า พระอจนะพูดได้ จากเรื่องเล่าครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปปราบเมืองสวรรคโลก ได้ทรงแวะพักที่วัดนี้ และได้ให้ทหารปีนขึ้นไปพูดเรียกขวัญและกำใจแก่เหล่าทหารอยู่ทางด้านหลังขององค์พระ ทำให้ทหารเชื่อว่าพระอจนะพูดได้ จึงเกิดความเลื่อมใสและรู้สึกฮึกเหิมที่จะต่อสู้ จนได้รับชัยชนะในที่สุด

ภาพที่ 6 เรื่องราวผ้าทอที่เป็นเอกลักษณ์ของอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

ผ้าตีนจกศรีสัชนาลัย มีแหล่งทอที่สำคัญอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ที่การจกลาย “จก” หมายถึง ผ้าที่ทอให้เกิดลวดลายตามที่กำหนด โดยใช้ขนเม่น หรือเครื่องมือที่มีลักษณะเรียวแหลม ควัก หรือล้วง เส้นด้ายพุ่งพิเศษ ให้ปรากฏเป็นลายบนผืนผ้า นิยมใช้วิธีการจกล้วงแบบอิสระ มีการทอลายเต็มผืนผ้า และจกลายเต็ม ลวดลายที่ทอนั้นจะเป็นลวดลายหลักในท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ 9 ลาย

 

ภาพที่ 7 เรื่องราวเครื่องสังคโลก เครื่องปั้นดินเผา ที่แสดงให้เห็นถึงงานหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวสุโขทัย

“สังคโลก” หรือ “เครื่องสังคโลก” เป็นคำที่ใช้เรียก สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องถ้วย ชาม เครื่องประดับประติมากรรม สถาปัตยกรรม และสิ่งที่ทำขึ้นจากความเชื่อ หรือสำหรับใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ผลิตขึ้นใน เขตจังหวัดสุโขทัย เมื่อสมัยอาณาจักรสุโขทัย-อยุธยา หรือราวปลายปีพุธศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 22 ซึ่งในช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเคลือบขึ้นในแคว้นต่าง ๆ ซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยหลายแห่ง พบมากในแคว้นสุโขทัย และล้านนา โดยเฉพาะในแคว้นสุโขทัย มีทั้งเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผาทั้งชนิดเคลือบ และไม่เคลือบ เพื่อใช้สำหรับเป็นของใช้ในบ้าน และส่งออกขายต่างประเทศ แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญอยู่ที่แหล่งเตาสุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง และ แหล่งเตาศรีสัชนาลัย. หรือเมืองสวรรคโลกเก่า อำเภอศรีสัชนาลัย ซึ่งมีการสันนิษฐานว่า คำเรียกว่า “สังคโลก”

 

ภาพที่ 8 เรื่องราวของเงิน-ทองลายโบราณ งานหัตถกรรมที่มีความประณีต สวยงามของศรีสัชนาลัย

เครื่องประดับทองสุโขทัยนับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ด้วยความสวยงาม ประณีต ละเอียดอ่อน แสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวตั้งแต่กรรมวิธีการผลิตด้วยมือตามแบบภูมิปัญญาดั้งเดิม ปัจจุบันแหล่งวัตถุดิบ นำเข้าเนื้อทอง 99.99% จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นเนื้อทองที่ได้มาตรฐาน สีสุกสว่างสวย เรียกกันว่า “สีดอกจำปา” ลวดลายบนเครื่องทองสุโขทัยนั้นยังมีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น เพราะมีรูปแบบลวดลายโบราณ ซึ่งมีแนวคิดในการออกแบบมาจากสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ ความศรัทธา งานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือจากธรรมชาติ ซึ่งในช่วงแรกนั้นช่างทองจะได้แรงบัลดาลใจมาจากลวดลายของประติมากรรมปูนปั้น รูปเคารพ ภาพจิตรกรรมบนฝาผนัง ประติมากรรมโบราณสถานต่าง ๆ เช่น วัดมหาธาตุ วัดพระพายหลวง วัดนางพญา หรือจากลวดลายบนเครื่องประดับ รูปเคารพ เป็นต้น

 

ภาพที่ 9 พระแม่ย่า

"การไหว้สักการะพระแม่ย่า" เนื่องจากเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสุโขทัยอีกสิ่งหนึ่ง เดิมพบองค์พระแม่ย่าที่เพิงหินบนยอดเขาสูงที่สุดยอดหนึ่งของเขาหลวง ในเขตบ้านโว้งบ่อ ตำบลนาเชิงคีรี อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย คือ เขาแม่ย่า หรือ เขาน่าย่า ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองสุโขทัยเก่าไปประมาณ ๗ กิโลเมตร เพิงหินที่พบเทวรูปนั้น ปัจจุบันก็เรียกกันว่า ถ้ำพระแม่ย่า ชาวบ้านแถวนั้นมีความเชื่อว่าหากไหว้สักการะ ขอพรใดๆก็จะสมปรารถนาในทุกเรื่อง และในช่วงสงกรานต์มีประเพณีแหนพระแม่ย่า เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล เพราะทุกครั้งที่แห่แหนประแม่ย่าก็จะมีฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์

 

ภาพที่ 10 พ่อขุนรามคำแหง

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือพ่อขุนรามราช ชื่อ "รามราช" พบในจารึกวัดศรีชุมว่า... "ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้หนึ่ง ชื่อพ่อขุนรามราชปรา(ช)ญ์รู้ธรรม" รวมทั้งพบในจารึกและเอกสารอื่นๆ อีกหลายแห่งว่า "พญารามราช" แต่ชื่อ "รามคำแหง" พบเพียงครั้งเดียวในจารึกพ่อขุนรามคำแหง และไม่พบในที่อื่นๆ อีกเลย ทุกวันนี้ชื่อ "รามคำแหง" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า "รามราช" จึงขอเรียกตามความนิยมว่า "พ่อขุนรามคำแหง"

 

A picture containing text

Description automatically generated

ภาพที่ 11 วัดตระพังทอง

อุโบสถหลวงพ่อขาว วัดตระพังทอง - มณฑปรอยพระพุทธบาท ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุโขทัย มีสระน้ำขนาดใหญ่อยู่ภายในบริเวณวัด ที่เรียกว่าสระ ตระพังทอง เป็นสระน้ำที่เก็บน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภคมาแต่โบราณ บริเวณเกาะกลางสระน้ำ เป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญของวัดตระพังทอง อันประกอบไปด้วย

 

ภาพที่ 12 อพท. พาเที่ยว ด้วยรถคอกหมู

รถคอกหมู เป็นโครงตัวถังเป็นไม้ทรงสี่เหลี่ยมคล้ายคอกหมู มีที่ขึ้นด้านข้าง ชาวบ้านเลยเรียกว่ารถคอกหมู อีกตำนานหนึ่ง มาจากคำว่า “คอกหมู่” โดยมีการตีไม้กั้นเป็นคอกและมีผู้โดยสารเป็นหมู่คณะ แต่ด้วยสำเนียงการออกเสียงของชาวสุโขทัย เป็นภาษาไทยกลางสำเนียงสุโขทัย จึงกลายเป็นเรียกว่า “คอกหมู” มาถึงปัจจุบัน

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 13 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว และมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอเมืองสุโขทัย

กำเนิดอักษรไทย           เล่นไฟลอยกระทง         สรีดภงส์แหล่งเก็บน้ำ      ลายครามสังคโลก

        มรดกโลกล้ำค่า             พระแม่ย่าพ่อขุน            ของงามตู้ไม้แกะสลัก      อาณาจักรสุโขทัย

 

Map

Description automatically generated

ภาพที่ 14 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว และมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอกงไกรลาศ

ทองม้วนชวนกิน           อร่อยลิ้นขนมผิง            ปลาร้าเด็ดจริง             ยอดยิ่งน้ำปลาดี

 

ภาพที่ 15 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยว และมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอคีรีมาศ

   เขาหลวงสูงเด่นเป็นสง่า           พระแม่ย่าถิ่นกำเนิดเกิดเป็นศรี     แหล่งปั้นหม้อ

   ทอผ้า                                 สรรพยาดี                             เลิศประเพณีคีรีมาศประกาศนาม

ภาพที่ 16 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอทุ่งเสลี่ยม

พระศิลามิ่งขวัญ     แม่ถันเด่นสง่า        สวยล้ำค่าหินอ่อน       เอื้ออาทรน้ำใจ           รักษาไว้วัฒนธรรม

 

ภาพที่ 17 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอบ้านด่านลานหอย

สักการะหลวงพ่อปิ้     ศักดิ์ศรีเมืองหน้าด่าน     ย่านทรัพยากร

    พักผ่อนอ่างเก็บน้ำ     ชมถ้ำเที่ยวเขา             ประเพณีเก่ามากมี

 

ภาพที่ 18 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอศรีนคร

หลวงพ่อหล้าคู่เมือง     หลวงพ่อเรืองคู่บ้าน       แหล่งน้ำใต้ดิน        ถิ่นกำเนิดฝ้าย

     พืชไร่งดงาม              นามศรีนคร               สหกรณ์ลือเลื่อง      เมืองนครเดิม

ภาพที่ 19 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอศรีสำโรง

ธรรมชาติสวยสม                    ถ้ำลมถ้ำวัง                 พระเครื่องดังลือชา

       เมืองใบยาสุดยอด                    ถั่วทอดสองร้อยปี          แดนคนดีศรีสำโรง

 

ภาพที่ 20 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอศรีสัชนาลัย

ประเพณีลือก้อง            ทองโบราณ       ย่านผ้าซิ่น        ถิ่นมรดกโลก

 

ภาพที่ 21 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและมี QR CODE แสดงแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอสวรรคโลก

พระพุทธเรืองฤทธิ์       พิพิธภัณฑ์ล้ำค่า       สินค้าพืชไร่ดัง      เครื่องสังคโลกดี      มีสวนพระร่วงงามตา

เรื่องน่าสนใจ

อพท.หมู่เกาะช้าง ร่วมอบรมและศึกษาดูงานเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง (Protected Area Committee : PAC) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ 1748400540
อพท.น่าน ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาดูงานจากคณะวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 1748328660
อพท.เลย ลงพื้นที่ร่วมกับ สำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว ณ อำเภอภูกระดึง เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมประชุมหารือและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism Management Standard: STMS) 1748267640