ผ้าในสุโขทัย
1629130320
ขนาดตัวอักษร
เราไม่มีโบราณวัตถุประเภทผ้าและสิ่งทอในสมัยสุโขทัยที่หลงเหลือมาให้ศึกษาในปัจจุบันเลย เรื่องผ้าในสมัยสุโขทัยจึงต้องอนุมานจากหลักฐานต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ เช่น
- การพบแวปั่นฝ้ายในบริเวณแหล่งโบราณคดีหลายแห่ง ทำให้มั่นใจได้ว่าคนในพื้นที่นี้รู้จักการปั่นฝ้ายและทอผ้าฝ้ายมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์
- หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏคำศัพท์ที่ใช้เรียกผ้าและสิ่งทอหลายแห่งในสุโขทัย เช่น ศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาไทย (พ.ศ.1904) ศิลาจารึกวัดเขมา (พ.ศ.2079) และไตรภูมิพระร่วง
- ประติมากรรมสำริดและหินรูปเทพเทวดา และจิตรกรรมในอุโมงค์วัดศรีชุม ซึ่งมีลวดลายดอกไม้ และลวดลายเรขาคณิตประดับที่ขอบหรือปลายผ้า
- ตุ๊กตาสังคโลก นุ่งผ้าลายเป็นริ้วคล้ายผ้าเข้มขาบของแขก หรือผ้าสมปักริ้วของเขมร และผ้านุ่งมีลายดอกไม้ที่ชวนให้นึกถึงผ้าทอหรือผ้าพิมพ์ลาย
(ข้อมูลจากคุณสิรวีย์ เอี่ยมสุดใจ มัคคุเทศก์เชี่ยวชาญมรดกโลก)
ลวดลายผ้าทั้งหมดที่ปรากฏ ไม่อาจทำให้เราทราบได้ว่าในสมัยโบราณนั้นใช้เทคนิควิธีการใดในการสร้างลายผ้า เพียงแต่เรารู้ว่ามีเทคโนโลยีในการสร้างลายผ้าอย่างแน่นอน และอีกประการ สมัยนั้นมีการนุ่งผ้าที่มีความพิถีพิถันและปราณีตอย่างมากสำหรับบุคคลชั้นสูง